ดูบทความอายุรกรรมโรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

อายุรกรรมโรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

หมวดหมู่: อายุรกรรม

 

โรคไตเรื้อรัง

แนวทางการจัดการสัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรัง  Chronic Kidney Disease - Best Therapy

ข้อมูลนี้เป็นการสรุปแนวทางการจัดการสัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรัง-Chronic Kidney Disease : Best Therapy โดย Dr. Reto Neiger, Small Animal Clinic (Internal Medicine), Justus-Liebig University, Giessen จากการประชุมวิชาการ FASAVA 2016, Malaysia

 

การดูแลสัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรัง สัตวแพทย์ต้องเข้าใจนิยามของโรคไตเรื้อรังว่าเป็นกระบวนการที่ร่างกายสัตว์ป่วยไม่สามารถขับของเสีย ได้แก่ urea, creatinine หรือสารประกอบ อื่นๆที่ร่างกายต้องการกำจัดออกไปได้ ไตสูญเสียความสามารถในการควบคุม homeostasis ของของเหลว  สมดุลย์กรด-ด่าง อิเลคโตรไลท์ รวมถึงไม่สามารถสร้างฮอร์โมน เช่น erythropoetin หรือ viatmin  D ได้เพียงพอ

 

สัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่มีภาวะ azotemia ในทางสัตวแพทย์คือภาวะที่ร่างกายมีระดับ serum creatinine และ urea ในระดับสูง  หากสัตว์เรื่มมีอาการทางคลีนิกที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาว่ามีภาวะ uremia หรืออาจเรียก uremic syndromes พยาธิสรีระวิทยา (pathophysiology)  ของโรคไตเรื้อรัง เป็นผลมาจาก hyperfiltration ของหน่วยไตที่ยังทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อเกิดการทำงานหนักขึ้นๆจะเกิด ภาวะเสื่อมตามมามากขึ้นเรื่อยไปและในที่สุดจะแสดงอาการต่างๆออกมา เช่น proteinuria หรือมี ภาวะโรคไตเรื้อรังที่เด่นชัดขึ้น

 

จุดมุ่งหมายหลักในการรักษาสัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรังคือ

  1. การวินิจฉัย การรักษาขั้นพื้นฐานของโรคไต และอาการป่วยที่เกี่ยวข้อง (underlying kidney diseaes)

  2. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะเป็นเหตุให้โรตไตเรื้อรังที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น

  3. หยุด หรือทำให้พัฒนาการของโรคไตเรื้อรังเป็นไปอย่างช้าๆ ให้นานเท่าที่จะประคองได้

  4. การจัดการกับภาวะ uremia หรือ uremic syndrome ได้แก่ 

    • การควบคุมการสูญเสียสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่นวิตามินละลายน้ำ,  แร่ธาตุ, อิเลคโตรไลท์ 

    • การได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางพลังงาน และระดับโปรตีนที่เหมาะสม

    • จัดการดูแลในเรื่องระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิซึม เช่น ภาวะเลือดจาง, 2nd hyperparathyroidism

สิ่งที่สัตวแพทย์ควรพิจารณาและสามารถจัดการขั้นพื้นฐานได้แก่ 

  1. การจัดการด้านอาหาร และพลังงาน

  2. การจัดการภาวะความดันโลหิตสูง (ถ้ามี)

  3. การจัดการภาวะ  proteinuria

  4. การรักษาและหลีกเลี่ยงภาวะ anemia

  5. การดูแลรักษาหากสัตว์ป่วยแสดงภาวะ uremia syndrome เช่น อาเจียน

  6. การจัดการภาวะ hypokalemia

  7. การควบคุมไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ (dehydration)

  8. หลีกเลี่ยงภาวะ renal 2nd hyperparathyroidism

  9. รักษา ภาวะ metabolic acidosis

  10. การรักษาอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากโรคมีพัฒนาการ หรือ ผลจากการจัดการที่ไม่เหมาะสม

 

อาหาร:  อาหารสำหรับสัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรัง แมวควรได้รับการควบคุมตั้งแต่ระยะการป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่ 2 และ สำหรับสุนัขควรได้รับการควบคุมตั้งแต่ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่ 3 โดยหลักการแล้วอาหารสำหรับสัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ดีคือ ฟอสฟอรัสต่ำ, โซเดียมต่ำ, วิตามิน B สูง, ให้พลังงานสูง, โปรตีนต่ำ, โปแตสเซียสูง, ระดับโอเมกา 3,6 สูง, ไฟเบอร์ละลายน้ำสูง ความดันโลหิต มีความสำคัญต่อการทำลายอวัยวะสำคํญ (EOD - End Organ Damage)ได้แก่ ตา หัวใจ สมอง และไต การจัดการให้พิจารณาตามแผนภูมิโดยดูปัจจัยด้านความดันโลหิต และอาการทางคลีนิกต่อ อวัยวะสำคัญ EOD (End Organ Damage) 

ความดันโลหิต มีความสำคัญต่อการทำลายอวัยวะสำคํญ (EOD - End Organ Damage)ได้แก่ ตา หัวใจ สมอง และไต การจัดการให้พิจารณาตามแผนภูมิโดยดูปัจจัยด้านความดันโลหิต และอาการทางคลีนิกต่อ อวัยวะสำคัญ EOD (End Organ Damage)

แนวทางการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง

  • สุนัขและแมวพิจารณาการักษาตั้งแต่ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2 ขึ้นไปถ้าพบว่าความดันโลหืต Sytolic > 160 mmHg หรือเริ่มมีอาการ EOD (End Organ Damage)

  • แมวเริ่มให้การรักษาโดยใช้ Amlodipine หากจำเป็นอาจเสริม ACE-inhibitor, AT1- Receptor blockers หรือ β-blocker หากยังไม่ได้ผล  

  • สุนัขเริ่มโดยใช้ ACE-inhibitor หากจำเป็นเสริม ca-antagonists หรือ β-blocker ถ้าจำเป็น

  • ตรวจความดันโลหิตสัตว์ป่วยเป็นประจำทุกครั้งที่มาพบสัตวแพทย์

Hyperphosphatemia สัตว์ป่วยไตวายเรื้อรังมักพบระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง (hyperphosphatemia) ในระยะการป่วยโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระยะที่ 2 ถึง 55% ระยะที่ 3 ถึง 90% และระยะที่ 4 ถึง 100%  หากไม่ได้รับการควบคุมจะทำให้สัตว์เสียชีวิตเร็วขึ้น  ดังนั้นสุนัขและแมวควรได้รับการควบคุมปริมาณฟอสฟอรัสในทุกระยะของการป่วย จึงควรใช้อาหารประกอบการรักษาโรคไตเรื้อรังเพื่อให้สะดวกต่อการควบคุม  และพิจารณาใช้ สารจับฟอสฟอรัส (intestinal phosphate binders) ในระหว่างมื้ออาหารทุกมื้อ สารจับฟอสฟอรัสที่นิยมใช้ได้แก่ สารประกอบ Chitosan, calcium carbonate การควบคุมระดับฟอสฟอรัสในอาหาร และการใช้สารจับฟอสฟอรัส มีความสำคัญมากที่สุด ในการจัดการโรคไตเรื้อรังในสุนัข และแมวที่มีภาวะโรคไตเรื้อรังที่เสถียรและร่างกายมีการปรับตัวให้อยู่กับโรคได้โดยไม่แสดงอาการรุนแรง (stable compensated CKD) ทำให้สัตว์ป่วยมีอายุยาวขึ้น และมีคุณภาพชีวิตอย่างมีคุณภาพ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

การล้างไตผ่านทางลำไส้

Q&A เรื่องโรคไตวายเรื้อรัง

CKD...โรคไตเรื้อรัง...

19 สิงหาคม 2560

ผู้ชม 7669 ครั้ง

    Engine by shopup.com