article
articleโปรไบโอติก / Probiotics
โปรไบโอติก / Probiotics
Probiotic คืออะไร ?
โปรไบโอติก (Probiotic) ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในรายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของ Lilly และ Stillwell ในปี พ.ศ. 2508 เพื่อกล่าวถึงสารที่จุลินทรีย์ชนิดหนึ่งขับออกมา และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นการทำงานที่ตรงข้ามกับการทำงานของยาปฏิชีวนะ (antibiotic) ที่จะทำลายจุลินทรีย์เกือบทุกชนิด
ในปี พ.ศ. 2517 Parker ได้ให้คำจำกัดความว่า โปรไบโอติก คือสิ่งมีชีวิตและสารเคมีที่มีผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ คำจำกัดความล่าสุด ซึ่งเสนอโดย Fuller ใน ปี พ.ศ. 2532 อธิบายคำว่า โปรไบโอติก คืออาหารเสริมซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต สามารถก่อประโยชน์ต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ โดยการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย
คำว่าจุลินทรีย์ (micro-organism) หมายถึงสิ่งมีชีวิตซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ที่อาจมีโทษหรือมีประโยชน์ต่อเราก็ได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดใหญ่ๆ คือ ไวรัส, ราหรือยีสต์, แบคทีเรีย และ พาราไซต์ ไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุดได้แก่ เชื้อเอดส์, งูสวัด, และ เริม เป็นต้น ราหรือยีสต์ ได้แก่ โรคผิวหนังที่ขึ้นตามที่อับชื้น มักทำให้มีอาการคัน พาราไซต์ ได้แก่ เชื้อไข้มาเลเรีย
แบคทีเรีย น่าจะเป็นคำที่รู้จักแพร่หลายมากที่สุดในบรรดาจุลินทรีย์ที่กล่าวมาแล้ว และคนก็มักนึกถึงแต่เชื้อโรคอย่างเดียว ตัวอย่างของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ เชื้อวัณโรค เชื้อที่ทำให้เจ็บคอ หรือเชื้อที่ทำให้เราท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ เป็นต้น แต่ยังมีแบคทีเรียที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายเรา ได้แก่แบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกได้ ซึ่งอาจเรียกว่า แลคติกแอซิดแบคทีเรีย แบคทีเรียที่ดีเหล่านี้ คือโปรไบโอติกนั่นเอง ได้แก่ แลคโตบาซิลัส อะซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus), เอนเทอโรคอคคัส ฟีคาลิส (Enterocossus faecalis), สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus) และ ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดัม (Bifidobacterium bifidum)ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
1. กรดแลคติกที่แบคทีเรียผลิตออกมา จะทำให้สภาวะภายในลำไส้ มีความเป็นกรดมากพอที่จะยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค
2. ทำให้ระบบขับถ่ายดี ไม่เกิดการหมักหมมของของเสียในร่างกาย เป็นการลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับ
3. ไวตามินบีที่ได้ จะทำให้เซลล์ในระบบภูมิต้านทานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยังทำให้มีการผลิตเม็ดเลือดแดงดีขึ้นด้วย
4. ช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง และกำจัดสารก่อมะเร็งบางชนิด
5. แลคติกแอซิดแบคทีเรีย ยังช่วยลดระดับน้ำตาลและโคเลสเตอรอลในเลือดด้วย
6. นอกจากนี้ ยังผลิตเอนไซม์แลคเตส ซึ่งช่วยย่อยน้ำตาลในนม ทำให้เราไม่มีอาการท้องอืดจากการดื่มนม และช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น
แบคทีเรียที่ดี มีประโยชน์ต่อเรานี้ อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ของเรา ตั้งแต่เราเกิดเป็นทารก ทำหน้าที่ช่วยย่อยอาหารและผลิตสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ให้กับเรา ได้แก่ กรดอะมิโน กรดแลคติก พลังงาน ไวตามินเค ไวตามินบี และสารปฏิชีวนะธรรมชาติหลายชนิด
เอกสารอ้างอิง : ธารารัตน์ ศุภศิริ, (2542) PROBIOTIC : แบคทีเรียเพื่อสุขภาพ, วารสารวิทยาศาสตร์ 53 (6) 357-360
โปรไบโอติก และภาวะ Dysbiosis
การใช้โปรไบโอติกร่วมกับยาต้านจุลชีพ และภาวะ Dysbiosis ในสัตว์เลี้ยง 500 ชนิด เมื่อร่างกายสัตว์ได้รับยาต้านจุลชีพ นอกจากยาจะมีผลโดยตรงกับจุลินทรีย์ก่อโรคดังที่สัตวแพทย์ต้องการแล้ว จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์บางส่วนก็สามารถถูกทำลายได้ ส่งผลกระทบก่อให้เกิดภาวะขาดสมดุลย์ของจุลินทรีย์ในสรีรวิทยาของระบบทางเดินอาหาร หรือเป็นสภาวะที่เรียกว่า Dysbiosis สัตว์เลี้ยงมักจะแสดงปัญหาที่เกิดขึ้นจากภาวะดังกล่าวด้วยอาการท้องเสียตามมา
การเลือกใช้โปรไบโอติกที่มีประโยชน์สำหรับสัตว์เลี้ยงร่วมกับการใช้ร่วมกับยาต้านจุลชีพสามารถลดปัญหาที่เกิดจาก Dysbiosis ได้ ช่วยป้องกันอาการท้องเสียได้ เช่น กรณีที่สัตวแพทย์พิจารณาว่าสัตว์จำเป็นต้องได้รับยาต้านจุลชีพเป็นเวลานานเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาภาวะติดเชื้อบางชนิด หรือ โรคติดเชื้อเรื้อรัง เช่นโรคผิวหนัง, โรคระบบทางเดินหายใจ การใช้โปรไบโอติกในกรณีนี้เป็นการป้องกันปัญหาท้องเสียที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาต้านจุลชีพเป็นเวลานาน (AAD-Antibiotic-Associated-Diarrhoea) หรือในกรณีสัตว์เลี้ยงที่มีการติดเชื้อโปรโตซัว Giardia ก็มีการใช้โปรไบโอติกร่วม เพื่อลดผลข้างเคียงของการใช้ยาต้านจุลชีพที่จะก่อให้เกิด Dysbiosis เช่นกัน
นอกจากนี้โปรไบโอติกยังมีบทบาทในการป้องกัน Dysbiosis ในสัตว์ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษามะเร็งที่ใช้เคมีบำบัด หรือ รังสีรักษา, ป้องกันภาวะ Dysbiosis จากการได้รับสารก่ออาการแพ้ที่เกิดจากอาหาร ปัญหา Dysbiosis ก่อให้เกิดผลเสียที่ตามมาต่อสัตว์เลี้ยงอย่างมาก (รูปแสดงกลไกที่เกี่ยวข้องในการเกิด Dysbiosis ) โปรไบโอติกมีบทบาทช่วยให้สัตวแพทย์ป้องกันผลข้างเคียงอันไม่พึงต้องการจากการใช้ยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อีกบทบาทที่สำคัญของโปรไบโอติกในทางสัตวแพทย์ทางเดินอาหารของสัตว์มีจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันมากกว่า
21 สิงหาคม 2560
ผู้ชม 20281 ครั้ง
แสดงความคิดเห็น