article
articleQ&A เรื่องโรคไตวายเรื้องรัง
Q&A เรื่องโรคไตวายเรื้องรัง
Q1: สุนัข หรือ แมว ถูกวินิจฉัยว่าเป็นไตวายเรื้อรัง รักษาแล้วจะหายมั้ย?
A1 : สั้นๆ ไม่หาย เหมือนคน เป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้ว ต้องรักษา กินยา ดูแลตัวเองตลอดชีวิต
Q2 : หากเป็นแล้วไม่หาย รักษาไปก็เท่านั้นมั้ย
A2-1 : คำตอบคือ หากมีข้อจำกัดทั้งทางด้านเวลา เศรษฐกิจ ผู้ดูแล ไม่ต้องรักษาก็ได้ สัตว์ป่วยจะจากไปเร็วขึ้น และมีคุณภาพชีวิตลดลงตามระดับความรุนแรงของโรค
A2-2 : หากไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา เศรษฐกิจ และผู้ดูแล รักษาได้ ไม่หาย จุดประสงค์หลักคือช่วยให้สัตว์มีชีวิตยืนยาวขึ้น และ ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
Q3 : แล้วรักษาอย่างไร?
A3 : ตามมาตรฐานาชีพแล้ว สัตวแพทย์ ต้องทำการวินิจฉัยก่อนว่าน้องป่วยอยู่ในระดับขั้นไหนแล้ว ปกติสัตวแพทย์จะบอกระยะได้โดย
- ตรวจวัดระดับของเสียในเลือดที่เรียกว่า “creatinine”
- วัดความดันว่าสูงหรือไม่
- วัดระดับสัดส่วนของ ”protein” และของเสีย “creatinine” ในปัสสาวะ ที่เรียกว่า “Urine Protein-Creatinine Ratio”
Q4 : ตรวจเลือด หรือ ปัสสาวะแค่นี่พอมั้ย?
A4 : ไม่พอ ควรวัดระดับ calcium, phosphorus, potassium, sodium, chloride ด้วย หากสัตว์ป่วยผอมมากอาจต้องวัดระดับ protein และ albumin ด้วย นอกจากนี้การ ultrasound ดูไต ทั้งขนาด และ เนื้อไตว่ามีวิการมากน้อยแค่ไหน ก็จะเป็นประโยชน์ในการพยากรณ์มากขึ้น และยังเป็นการตรวจคัดกรองอวัยวะในช่องท้องส่วนอื่น เช่น ตับ, ถุงน้ำดี, กระเพาะปัสสาวะ, ม้าม, ลำไส้ ฯลฯ
Q5 : ทำไมต้องตรวจความดัน
A5 : หากดูระบบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับไตแล้วจะมีส่วนของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงไต ซึ่งหลอดเลือดส่งเลือดผ่านมาได้ ต้องอาศัยการปั้ม ทำงานของหัวใจ ดังนั้นในการตรวจ รักษา ดูแล สัตว์ป่วยโรคไตวาย ต้องดูเรื่องของหัวใจ ระบบหลอดเลือด และความดัน
Q6 : รักษาสัตว์ป่วยโรคไตวายเรื้อรังกินยาอย่างเดียวพอมั้ย
A6 : ไม่พอ สิ่งที่สำคัญมากกว่ายา คือเมื่อได้รับยามาแล้ว สามารถจัดการบริหารยาให้สัตว์ได้รับยาตามที่ควรจะเป็นหรือไม่ จัดการด้านอาหารให้ได้รับอาหารเพียงพอหรือไม่ และการจัดการสัตว์ป่วย ยาที่ใช้ต้องมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพพอ การช่วยให้สัตว์ได้รับอาหาร (Assited Feeding) เป็นสิ่งสำคัญมาก และทำได้ยากมากโดยเฉพาะในสุนัข
Q7: แนวทางการรักษาโรคไตวายเรื้อรังมีแค่กินยา กินอาหารรักษาโรค และให้น้ำเกลือเท่านั้นหรือ
A7 : ในทางปฎิบัติสำหรับสัตว์ อาจจะดูเหมาะสมสุด แต่หากเจ้าของพร้อมให้ความร่วมมือ และต้องการยืดอายุสัตว์ต่อไป สามารถใช้การล้างไตผ่านหน้าท้อง (Peritoneal Dialysis), การฟอกเลือด (Haemodialysis), การเปลี่ยนไต (Kidney Transplant) หรือการรักษาด้วย Stem cell
Q8 : Intestinal Dialysis คืออะไร
A8: Intestinal dialysis เป็นหลักการใช้ แบคทีเรียที่มีประโยชน์ ให้ทำหน้าที่ในการดึงของเสียโดยเฉพาะ โมเลกุลของไนโตรเจนออกจากเส้นเลือดฝอยจากบริเวณลำไส้ใหญ่ เพราะแบคทีเรียทำงานโดยใช้ไนโตรเจนในกระบวนการเมตาบอลิซึม เป็นการช่วยให้ระดับของเสียในเลือดที่มีไนโตเจนเป็นองค์ประกอบลดลง
19 สิงหาคม 2560
ผู้ชม 30184 ครั้ง
แสดงความคิดเห็น