ดูบทความ
ดูบทความอายุรกรรมโรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ
อายุรกรรมโรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคไตเรื้อรัง
แนวทางการจัดการสัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney Disease - Best Therapy
ข้อมูลนี้เป็นการสรุปแนวทางการจัดการสัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรัง-Chronic Kidney Disease : Best Therapy โดย Dr. Reto Neiger, Small Animal Clinic (Internal Medicine), Justus-Liebig University, Giessen จากการประชุมวิชาการ FASAVA 2016, Malaysia
การดูแลสัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรัง สัตวแพทย์ต้องเข้าใจนิยามของโรคไตเรื้อรังว่าเป็นกระบวนการที่ร่างกายสัตว์ป่วยไม่สามารถขับของเสีย ได้แก่ urea, creatinine หรือสารประกอบ อื่นๆที่ร่างกายต้องการกำจัดออกไปได้ ไตสูญเสียความสามารถในการควบคุม homeostasis ของของเหลว สมดุลย์กรด-ด่าง อิเลคโตรไลท์ รวมถึงไม่สามารถสร้างฮอร์โมน เช่น erythropoetin หรือ viatmin D ได้เพียงพอ
สัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรัง ที่มีภาวะ azotemia ในทางสัตวแพทย์คือภาวะที่ร่างกายมีระดับ serum creatinine และ urea ในระดับสูง หากสัตว์เรื่มมีอาการทางคลีนิกที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาว่ามีภาวะ uremia หรืออาจเรียก uremic syndromes พยาธิสรีระวิทยา (pathophysiology) ของโรคไตเรื้อรัง เป็นผลมาจาก hyperfiltration ของหน่วยไตที่ยังทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อเกิดการทำงานหนักขึ้นๆจะเกิด ภาวะเสื่อมตามมามากขึ้นเรื่อยไปและในที่สุดจะแสดงอาการต่างๆออกมา เช่น proteinuria หรือมี ภาวะโรคไตเรื้อรังที่เด่นชัดขึ้น
จุดมุ่งหมายหลักในการรักษาสัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรังคือ
-
การวินิจฉัย การรักษาขั้นพื้นฐานของโรคไต และอาการป่วยที่เกี่ยวข้อง (underlying kidney diseaes)
-
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะเป็นเหตุให้โรตไตเรื้อรังที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น
-
หยุด หรือทำให้พัฒนาการของโรคไตเรื้อรังเป็นไปอย่างช้าๆ ให้นานเท่าที่จะประคองได้
-
การจัดการกับภาวะ uremia หรือ uremic syndrome ได้แก่
-
-
การควบคุมการสูญเสียสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่นวิตามินละลายน้ำ, แร่ธาตุ, อิเลคโตรไลท์
-
การได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางพลังงาน และระดับโปรตีนที่เหมาะสม
-
จัดการดูแลในเรื่องระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิซึม เช่น ภาวะเลือดจาง, 2nd hyperparathyroidism
-
สิ่งที่สัตวแพทย์ควรพิจารณาและสามารถจัดการขั้นพื้นฐานได้แก่
-
การจัดการด้านอาหาร และพลังงาน
-
การจัดการภาวะความดันโลหิตสูง (ถ้ามี)
-
การจัดการภาวะ proteinuria
-
การรักษาและหลีกเลี่ยงภาวะ anemia
-
การดูแลรักษาหากสัตว์ป่วยแสดงภาวะ uremia syndrome เช่น อาเจียน
-
การจัดการภาวะ hypokalemia
-
การควบคุมไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ (dehydration)
-
หลีกเลี่ยงภาวะ renal 2nd hyperparathyroidism
-
รักษา ภาวะ metabolic acidosis
-
การรักษาอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากโรคมีพัฒนาการ หรือ ผลจากการจัดการที่ไม่เหมาะสม
อาหาร: อาหารสำหรับสัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรัง แมวควรได้รับการควบคุมตั้งแต่ระยะการป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่ 2 และ สำหรับสุนัขควรได้รับการควบคุมตั้งแต่ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่ 3 โดยหลักการแล้วอาหารสำหรับสัตว์ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ดีคือ ฟอสฟอรัสต่ำ, โซเดียมต่ำ, วิตามิน B สูง, ให้พลังงานสูง, โปรตีนต่ำ, โปแตสเซียสูง, ระดับโอเมกา 3,6 สูง, ไฟเบอร์ละลายน้ำสูง ความดันโลหิต มีความสำคัญต่อการทำลายอวัยวะสำคํญ (EOD - End Organ Damage)ได้แก่ ตา หัวใจ สมอง และไต การจัดการให้พิจารณาตามแผนภูมิโดยดูปัจจัยด้านความดันโลหิต และอาการทางคลีนิกต่อ อวัยวะสำคัญ EOD (End Organ Damage)
ความดันโลหิต มีความสำคัญต่อการทำลายอวัยวะสำคํญ (EOD - End Organ Damage)ได้แก่ ตา หัวใจ สมอง และไต การจัดการให้พิจารณาตามแผนภูมิโดยดูปัจจัยด้านความดันโลหิต และอาการทางคลีนิกต่อ อวัยวะสำคัญ EOD (End Organ Damage)
แนวทางการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง
-
สุนัขและแมวพิจารณาการักษาตั้งแต่ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2 ขึ้นไปถ้าพบว่าความดันโลหืต Sytolic > 160 mmHg หรือเริ่มมีอาการ EOD (End Organ Damage)
-
แมวเริ่มให้การรักษาโดยใช้ Amlodipine หากจำเป็นอาจเสริม ACE-inhibitor, AT1- Receptor blockers หรือ β-blocker หากยังไม่ได้ผล
-
สุนัขเริ่มโดยใช้ ACE-inhibitor หากจำเป็นเสริม ca-antagonists หรือ β-blocker ถ้าจำเป็น
-
ตรวจความดันโลหิตสัตว์ป่วยเป็นประจำทุกครั้งที่มาพบสัตวแพทย์
Hyperphosphatemia สัตว์ป่วยไตวายเรื้อรังมักพบระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง (hyperphosphatemia) ในระยะการป่วยโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระยะที่ 2 ถึง 55% ระยะที่ 3 ถึง 90% และระยะที่ 4 ถึง 100% หากไม่ได้รับการควบคุมจะทำให้สัตว์เสียชีวิตเร็วขึ้น ดังนั้นสุนัขและแมวควรได้รับการควบคุมปริมาณฟอสฟอรัสในทุกระยะของการป่วย จึงควรใช้อาหารประกอบการรักษาโรคไตเรื้อรังเพื่อให้สะดวกต่อการควบคุม และพิจารณาใช้ สารจับฟอสฟอรัส (intestinal phosphate binders) ในระหว่างมื้ออาหารทุกมื้อ สารจับฟอสฟอรัสที่นิยมใช้ได้แก่ สารประกอบ Chitosan, calcium carbonate การควบคุมระดับฟอสฟอรัสในอาหาร และการใช้สารจับฟอสฟอรัส มีความสำคัญมากที่สุด ในการจัดการโรคไตเรื้อรังในสุนัข และแมวที่มีภาวะโรคไตเรื้อรังที่เสถียรและร่างกายมีการปรับตัวให้อยู่กับโรคได้โดยไม่แสดงอาการรุนแรง (stable compensated CKD) ทำให้สัตว์ป่วยมีอายุยาวขึ้น และมีคุณภาพชีวิตอย่างมีคุณภาพ
บทความที่เกี่ยวข้อง
19 สิงหาคม 2560
ผู้ชม 7629 ครั้ง
แสดงความคิดเห็น